วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรีประเภทสี

เครื่องดนตรีประเภทสี

ซอสามสาย

     ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของไทย ในสมัยสุโขทัย เรียก ซอพุงตอ กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ คือ มีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม ขึงหนังแพะหรือหนังลูกวัวปิดปากกะลา ส่วนประกอบที่สำคัญ นอกจากหย่อง ซึ่งเป็นไม้สำหรับหนุนสายตรงหนังซอ ให้สายตุงออกมา ยังมีถ่วงหน้าตรงด้านซ้ายตอนบนซึ่งช่วยให้ซอมีความไพเราะ กังวาน ทั้งยังเป็นที่ประดับประดาอัญมณีเพื่อให้เกิดความสวยงาม ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงขับไม้ วงมโหรี และวงดนตรีประกอบชุดโบราณคดี

                                                 

ซอด้วง

     ซอด้วงมี 2 สาย กะโหลกซอเดิมทำจากกระบอกไม้ไผ่ ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเจาะกลึง ขึ้นหน้ากะโหลกซอด้วยหนังงูเหลืม คันนทวนตอนบนปาดปลาย ลักษณะคล้ายโขนเรือ มีลูกบิด 2 อันสอดดันระหว่างสายซอทั้งสองเส้น เนื่องจากรูปร่างลักษณะซอคล้ายด้วงดักสัตว์ จึงเรียกว่า "ซอด้วง" ใช้ประสมในวงเครื่องสายและวงมโหรี ทำหน้าที่เป็นเครื่องนำวงในวงเครื่องสาย

                                                         

ซออู้

    ซออู้มี 2 สาย กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวปาดข้าง และแกะสลักลวดลาย เพื่อเปิดให้มีช่องเสียง หุ้มหนังซอด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว คันทวนตั้งตรง ลักษณะเด่นของซออู้ คือ เสียงที่ทุ้มต่ำกังวาน ดำเนินการบรรเลงให้มีท่วงทำนองอ่อนหวานเศร้าโศกได้ดี ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงดนตรีประกอบระบำชุดโบราณคดี


                                                        

สะล้อ

     เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ มี 2-3 สาย มีลักษณะคล้ายซออู้กับซอสามสายผสมกัน มีคันชักอยู่ด้านนอก ใช้บรรเลงเดี่ยวบ้าง บรรเลงผสมกับซึงบ้าง หรือบรรเลงผสมกับปี่ซอบ้าง เป็นต้น

                                                         










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น