วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรีประเภทดีด

เครื่องดนตรีไทย

     เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสมไว้ สืบเนื่องต่อกันมาช้านาน เครื่องดนตรีแต่ละประเภทมีประวัติ ที่มา ลักษณะ รูปแบบการบรรเลง การประสมวง และการเรียกชื่อ ที่แตกต่างกันไป ดังจะได้กล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ 


การบัญญัติชื่อเครื่องดนตรีไทย

1.เรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยิน เช่น ฉิ่ง ฉาบ โกร่ง กรับ โหม่ง ระนาดทุ่ม เป็นต้น
2.เรียกชื่อตามรูปร่างลักษณะ เช่น ซอสามสาย จะเข้ สองหน้า กลองยาว ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก เป็นต้น
3.เรียกชื่อตามแบบแผนที่ใช้ประกอบการเล่น เช่น กลองชาตรี ฆ้องระเบง ปี่กาหลอ เป็นต้น
4.เรียกชื่อตามสำนวน (ส่วนใหญ่รับมาจากชาติอื่น) เช่น หลองมลายู กลองแขก กลองจีน ปี่ชวา ปี่มอญ


เครื่องดนตรีประเภทดีด

กระจับปี่

     กระจับปี่คือพิณชนิดหนึ่ง มี 4 สาย กระโหลกเป็นรูปรีแบน ทั้งด้านหน้า และด้านหลังทวนยาวเรียวโค้ง มีนมรับนิ้วสำหรับกดสาย 11 นม ไม้ดีดทำด้วยเขาหรือกระดูกสัตว์ กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีโบราณ

                                                             

พิณ

     พิณมี 2 ชนิด คือ พิณน้ำเต้า และ พิณเพียะ ลักษณะคล้ายกัน คือกระโหลกทำด้วยน้ำเต้า มีลูกบิดสายสำหรับเร่ง และตั้งเสียง พิณน้ำเต้ามีสายเดียว ส่วนพิณเพียะมี 4 สาย ใช้ดีดประสาน และคลอกับเสียงร้องของผู้เล่นเอง
 

ซึง

     ซึงมี 4 สาย เหมือนกระจับปี่ มีรูปร่างคล้ายพิณวงเดือนของจีน (จีนเรียก เยอะฉิน) ของไทยทางภาคเหหนือเรียก ซึง ส่วนภาคอีสาน เรียกพิณอีสาน เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ใช้ประสมวงกับปี่ซอ

                                                  

จะเข้

     เป็นเครื่องดีดที่มีเสียงกังวาน ไพเราะ สันนิษฐานว่า ปรับปรุงมาจากพิณ เพื่อให้นั่งดีดได้สะดวก ตัวจะเข้ทำด้วยไม้ขนุนท่อนเดียว มีเท้ารองตอนหัว 4 อัน ตอนปลายหางอีก 1 อัน มีสามสาย ไม้ดีดกลม ปลายแหลม ใช้ดีดไปบนสายที่พาดบนนม นมมี 11 อัน ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี

                                                   
                                           
                                                                                ที่มา http://www.2.udru.ac.th












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น