วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรีประเภทเป่า

เครื่องดนตรีประเภทเป่า

ปี่

     ปี่เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาแต่โบราณ มีลักษณะและวิธีการเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ ทังยังเลียนเสียงคำพูดคนได้ชัดเจน และใกล้เคียงที่สุด ปี่ที่กล่าวมานี้มี 3 ชนิด คือ ปี่ใน ปี่กลาง และปี่นอก มีรูปร่างเหมือนกันแตกต่างกันที่ขนาด

     ปี่ใน  

มีขนาดใหญ่ ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง และประกอบการแสดง โขน ละคร 

                                   

     ปี่กลาง

มีขนาดกลาง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง และประกอบการแสดงโขน หนังใหญ่ ซึ่งแสดงกลางแจ้ง
                                          
                                                   

     ปี่นอก

มีขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง (ปัจจุบันไม่นิยมมาผสมวง) และวงปี่พาทย์ชาตรี ประกอบละครชาตรี โนรา หนังตะลุง

                                              

     ปี่ชวา

เดิมเป็นของชวา ตัวปี่มี 2 ท่อน ท่อนบนเรียกเล่าปี่ ท่อนล่างเรียกลำโพง ทำด้วยไม้ หรือ งาช้าง ปี่ชวามีเสียงแหลมดัง ใช้เป่าคู่กับกลองแขก เรียกวงปี่กลองแขก ใช้ประกอบการแสดงกระบี่กระบอง และการชกมวยไทย ประสมกับกลองมลายูเรียกว่า วงปี่กลองมลายู และวงบัวลอย นอกจากนี้ยังประสมในวงปี่พาทย์นางหงส์ และวงเครื่องายปี่ชวา

                                                  

     ปี่มอญ

เป็นปี่ของชาวรามัญ ประกอบด้วยเล่าปี่ และลำโพงปี่ ทำด้วยทองเหลือง ทั้งสองส่วนนี้สอดสวมกันหลวมๆ มีเชือกผูกโยงไม่ให้หลุดออกจากกัน ปี่มอญมีเสียงโหยหวน ฟังแล้วชวนให้เกิดอารมณ์เศร้า ใช้ประสมในวงปี่พาทย์มอญ และบรรเลงประกอบในการฟ้อนของภาคเหนือ

                                               

     ปี่ซอ

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปี่ลุม เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ทำด้วยไม้รวกมีหลายขนาดแตกต่างกันไป ประสมในวงปี่ซอ และบรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองอื่นๆของภาคเหนือ ปี่ซอเมื่อบรรเลงรวมเป็นวง    ปี่ซอจะมีสี่เล่ม คือ ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อย และปี่เล็ก

                                      




ขลุ่ย

     เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของไทย เหตุที่เรียกว่าขลุ่ย สันนิษฐานว่า เรียกตามเสียงที่ได้ยิน ปกติขลุ่ยจะทำด้วยไม้รวกปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางส่วนปลาย วัสดุอื่นที่นำมาแทนมีงาช้าง ไม้จริง ท่อเลสลอน ขลุ่ยเลาหนึ่งมีรูสำหรับนิ้วปิดเปิดเพื่อเปลี่นนเสียง 7 รู มีดากปิดส่วนบนสำหรับเป่าลม ตอนล่างมีรูปากนกแก้ว และนิ้วค้ำ ขลุ่ยมี 4 ชนิด ดังนี้

     ขลุ่ยอู้

เป็นขลุ่ขนาดใหญ่ที่สุด ใช้ประสมวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้น

                                                   
   

     ขลุ่ยเพียงออ

เป็นขลุ่ยขนาดกลาง ใช้ประสมในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงเครื่องสายปี่ชวา วงเครื่องสาย วงมโหรี เป็นต้น 

                                       

     ขลุ่ยหลิบ

เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก แต่ใหญ่กว่าขลุ่ยกรวด ใช้ประสมในวงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเครื่องสาย ปี่ชวา เป็นต้น

                                               

     ขลุ่ยกรวด

ขลุ่ยชนิดนี้มีระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 1 เสียง เท่ากับเสียงนอก ของปี่พาทย์ เสียงของขลุ่ยชนิดนี้จะตรงกับเสียง เร ของสากล ขลุ่ยกรวดนี้ ไม่ใคร่จะมีใครใช้มากนัก ขลุ่ยชนิดนี้ทำง่าย เพราะเป็นขลุ่ยขนาดเล็ก ใช้ไมม้ปล้องเล็กสั้นกว่าขลุ่ยเพียงออ

                                                         

                                                                                               ที่มา http://www.2.udru.ac.th

เครื่องดนตรีประเภทตี

เครื่องดนตรีประเภทตี

ระนาดเอก

     เป็นเครื่องดนตรีที่มีวิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำกรับหลายอัน ที่มีขนาดแตกต่างกันมาร้อยเรียง และแขวนบนรางระนาด ผืนระนาดทำจากไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พยุง เป็นต้น มีลูกระนาด 21-22 ลูก เทียบเสียงด้วยการติดตะกั่วผสมขี้ผึ่ง มีไม้ตี 2 ชนิด ไม้แข็ง และ ไม้นวม โดยปกติแล้วจะตีพร้อมกันทั้ง 2 มือ เป็นคู่แปด ดำเนินทำนองเก็บถี่ โดยแปรจากทำนองหลัก (ฆ้อง) เป็นทำนองเต็มทำหน้าที่เป็นผู้นำวง

                                              
                                                

ระนาดทุ้ม

     เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยประดิษฐ์เลียนแบบระนาดเอก แต่ใหญ่ กว้าง และเสียงทุ้มกว่า มีลูกระนาด 17-18 ลูก ทำหน้าที่แปลทำนองหลักจากฆ้อง เป็นทาง และลีลาตอกคะนอง มีการขัด ล้วงล้ำ เลื่อม เป็นต้น ตีสอดแทรก ยั่วเย้า หยอกล้อไปกับเครื่องดำเนินทำนองให้สนุก

                                                   

ระนาดเอกเหล็ก

     เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระนาดทอง เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยประดิษฐ์จากเหล็ก หรือทองเหลือง เมื่อบรรเลง จึงมีเสียงดังกว่าระนาดไม้ ทำหน้าที่ในการบรรเลงโดยแปรลูกฆ้องออกเป็นทำนองเต็ม เหมือนระนาดเอก เพียงแต่ไม่ทำหน้าที่ผู้นำวงเท่านั้น

                                               

ระนาดทุ้มเหล็ก

     ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราดำริให้สร้างขึ้น โดยทรงได้แนวคิดมาจากหีบเพลงฝรั่ง ระนาดทุ้มเหล็กมี 16 ลูก ทำหน้าที่โดยแปรลูกฆ้องออกเป็นทำนองเต็ม มีเสียงกังวาน และหึ่งจึงคล้ายเบส(Bass) ของวงดนตรีตะวันตก

                                                

ฆ้องวงใหญ่

     มีวิวัฒนาการมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ ฆ้องราว และฆ้องราง จนกระทั่งเป็นฆ้องวง โดยมีลูกฆ้องร้อยเรียงบนรางรอบร้านฆ้อง จำนวน 16 ลูก เรียงจากลูกใหญ่ด้านซ้ายมือ มาหาลูกเล็กด้านขวามือ ดำเนินทำนองหลักอันเป็นแม่บทของเพลง จัดเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญที่สุด นักดนตรีในวงปี่พาทย์ทุกคน ต้องเริ่มหัดเรียนฆ้องวงใหญ่ก่อน จึงจะเปลี่ยนเป็นไปเรียนเครื่องดนตรีชนิดอื่น  สันนิษฐานว่าฆ้องวงใหญ่ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย 

                                               

ฆ้องวงเล็ก

     ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อให้เข้ากับฆ้องวงใหญ่ มีขนาดเล็กกว่า แต่มีจำนวนลูกฆ้องมากกว่า โดยมี 18 ลูก ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง โดยแปรลูกฆ้อง ออกเป็นทำนองเต็ม ทำหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูง

                                              

ฆ้องมอญวงใหญ่

     เป็นเครื่องดนตรีของชาวรามัญ นักดนตรีไทย นำเครื่องดนตรีชนิดนี้ มาบรรเลงทั่วไป เพื่อประกอบละครพันทางบ้าง ประโคมในงานศพบ้าง ลักษณะของฆ้องมอญจะมีรูปร่างโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง มีลวดลายตกแต่งสวยงาม มีลูกฆ้อง 15 ลูก ดำเนินทำนองเพลง และทำหน้าที่เหมือนฆ้องวงใหญ่ของไทย

                                                

ฆ้องมอญวงเล็ก

     ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอย่างฆ้องวงเล็ก แต่ให้มีรูปร่างทรงเหมือนฆ้องมอญ มีลูกฆ้อง 18 ลูก ดำเนินทำนองเพลง และทำหน้าที่แปรลูกฆ้อง เหมือนฆ้องวงเล็กของไทย
                                                    
                                                  
                                                                                   ที่มา http:www.2.udru.ac.th